วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

คนไทยรู้ไหม? ก.ไก่-ฮ.นกฮูกที่ท่องกันทุกวันมีความหมายอย่างไร

ความหมายแฝงของอักษรไทย 44 ตัว

SvAXzl.gif



ก.ไก่ เป็นสัตว์ตื่นเช้าที่สุด เลยให้มาเป็นอักษรตัวแรก เพื่อเตือนให้คนไทยขยันขันแข็ง

ข.ไข่ เป็นดอกผลของไก่ แต่จะมีความเปราะบาง ต้องทะนุถนอมให้ดีดี อย่าปล่อยทิ้งละเลยสังคม

ฃ.ฃวด เป็นวิถีชีวิตของคนไทยที่เตือนไว้ว่า แม้จะดื่มกิน ให้มีสติไว้ มิฉะนั้นอาจมีสิ่งใดแตกหักได้

ค.ควาย ฅ.ฅน เป็นวิถีชีวิตของคนไทย การอยู่ร่วมกันระหว่าง ฅน และธรรมชาติ โดยให้ ฅนมาทีหลัง ควาย คือ โง่ มาก่อนฉลาด อย่าอวดฉลาด หากยังไม่รู้จักโง่ก่อน

ฆ.ระฆัง ให้หมั่นประชุมเป็นนิตย์ อย่าได้ละเลยการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ง.งู ต้องกล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงความคิดเห็น

จ.จาน ต้องรู้จักการอาสาเจือจาน เข้าทำนอง จ.จานใช้ดี

ฉ.ฉิ่ง ตีดัง ช.ช้าง วิ่งหนี ให้รู้จักการใช้การทำงานเล็ก ๆ ให้เกิดผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง โดยไม่ต้องคิดการใหญ่

ซ.โซ่ ล่ามที หากสังคมเตลิด จากการกระทำใดใด ให้รู้จักยับยั้งเอาไว้ด้วยขนบธรรมเนียมบ้าง

ฌ.เฌอ คู่กัน ให้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ระหว่างคนและธรรมชาติ

ญ.หญิง โสภา ฑ.มณโฑ หน้าขาว บอกใบ้ให้เห็นว่า สตรี เป็นเพศที่สวยงาม และต้องเอาใจใส่ให้มาก อย่าได้ละเลยลืมเลือน

ฎ.ชฎา สวมพลัน เป็นแง่คิดให้เห็นถึง ยศฐาบรรดาศักดิ์ว่า ไม่จีรัง คล้าย ๆ กับหัวโขน

ฏ.ปฏัก และ ฐ.ฐาน เป็นอักษรคู่กัน ที่จะทำงานอะไรที่ฉับไว เที่ยงตรง ต้องมีรากฐาน หรือมีเหตุผลรองรับอย่างชัดเจนมั่นคง

ฒ.ผู้เฒ่า เดินย่อง เป็นการสะท้อนว่า ผู้หลักผู้ใหญ่จะทำอะไรต้องระมัดระวังให้ถี่ถ้วน อย่าโผงผาง

ณ.เณร ไม่มอง ด.เด็ก ต้องนิมนต์ เป็นอักษรคู่กัน แทนการเปรียบเทียบ 2 สถาบัน ระหว่างศาสนา และฆราวาส เมื่อพระท่านมองข้ามสิ่งใด ละเลยสิ่งใด ต้องช่วยกันเตือนได้ ไม่ใช่ละเลยไปหมด

ต.เต่า หลังตุง ถ.ถุง แบกหาม เป็นอักษรคู่เช่นกัน ที่เปรียบว่า ทั้งหมด มีหน้าที่ของตัว และต้องทำให้ดีที่สุดตามสภาพที่มีและเป็นอยู่

ท.ทหาร อดทน นี่ชัดเจนว่าท่านข้าราชการ ว่าต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เพื่อชาติ

ธ.ธง คนนิยม เป็นภาพสะท้อนให้คนรักชาติบ้านเมือง ให้เห็นแก่ประโยชน์ของชาติอันดับแรกเลย

ภ.สำเภา กางใบ สะท้อนว่าหากจะค้าขายไกล ๆ ต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สอดรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ

ร. ล. ว. เป็นอักษรชุด 3 ตัวเรียง ที่มาสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนไทยที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ น้ำ สัตว์ และการฝีมือ

ที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

ษ. ฤาษี หนวดยาว ศ.ศาลา ส.เสือ ดาวคะนอง สามสอนี้ เป็นภาคตัวแทนของอุปนิสัยใจคอของคนไทยว่า รักสงบ (ษ.)

โอบอ้อมอารี (ศ.) แต่ใจนักเลง (ส.)

อ.อ่าง เนืองนอง เป็นสัญลักษณ์ย้ำว่าคนไทย ต้องมีจิตคิดเพื่อคนอื่นเสมอ ก่อนคิดเพื่อตัว

ฬ.จุฬา ท่าผยอง สะท้อนว่า ริจะเป็นผู้ปกครอง ริจะอยู่เหนือคนอื่น ต้องต้านทานอุปสรรคนานาได้ คล้ายกับว่าว จะขึ้นสูงต้องต้านแรงลมได้

ฮ.นกฮูก นั้นสะท้อนว่า คนไทยขยันตั้งแต่เช้า (ไก่) ยันค่ำ (นกฮูก) มีสัตว์ที่ตื่นอยู่ตลอดเวลา


ที่มา : http://variety.teenee.com/foodforbrain/54162.html 

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

อัพเอาลิงค์^^






การเซิ้งบั้งไฟ

การเซิ้งบั้งไฟ
ส่วนหนึ่งของเอกสารที่เกี่ยวข้องในงานวิจัยการเซิ้งบั้งไฟที่เคยได้รวมรวมตอนที่จะทำวิจัยเล็กในคติชนวิทยา
บุญบั้งไฟเมืองยโสธร

เซิ้งบั้งไฟ เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล จากคตินิยมและความเชื่อเรื่องตำนานพญาคันคาก (คางคก) ซึ่งเป็นทั้งวรรณกรรมมุขปาฐะและวรรณกรรมจารึก อีกเรื่องหนึ่งคือ ตำนาน "ท้าวผาแดง -- นางไอ่คำ" ซึ่งปราชญ์ชาวอีสาน ได้แต่งวรรณกรรมจากสังคมและความเป็นอยู่ของชุมชนชาวขอม
การเซิ้งบั้งไฟ ถือว่าเป็นประเพณีที่ชุมชน ชาวอีสานสืบทอดกันมาพร้อมกับประเพณีการจุดบั้งไฟ คือก่อนที่จะทำบั้งไฟเพื่อจุดถวายพญาแถนบนสวรรค์ ชาวบ้านจะรวมตัวกันออกเซิ้ง(คือ การร้องหรือจ่ายกาพย์ประกอบการฟ้อน) ไปรอบๆหมู่บ้านหรือชุมชนใกล้เคียง เพื่อบอกบุญขอรับไทยทาน เพื่อซื้อ ขี้เกีย (ดินประสิว) มาทำเป็น หมื่อ (ดินปืน) เพื่อบรรจุทำเป็นบั้งไฟ และจุดในพิธีขอฝนต่อไป ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  อดิศักดิ์ สาศิริ  http://www.isan.clubs.chula.ac.th/folkdance/index.php?transaction=roied06.php
 เซิ้ง หมายถึง การร้องรำทำเพลงแบบชาวอีสาน ซึ่งปัจจุบันเซิ้งได้เข้ามามีบทบาทแพร่หลายอยู่ในทุกภาค และเป็นที่ยอมรับกัน อย่างกว้างขวางว่าเป็นการแสดงอีกแบบหนึ่ง นิยมกันอยู่ขณะนี้ เช่น เซิ้งสวิง เซิ้งกระหยัง เซิ้งกระติ๊บ เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสุ่ม ฯลฯ  เกศสุริยง  07 มีนาคม 2554http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rouenrarai&month=03-2011&date=07&group=13&gblog=25
การเซิ้ง เป็นศิลปะทางวาทศิลป์-วรรณศิลป์อีกแขนงหนึ่ง ที่ผู้เซิงต้องมีปฏิภาณพอสมควรเพราะการเซิ้งต้องมีผู้ นำเซิ้ง(ผู้จ่ายกาพย์เซิ้ง) แล้วผู้ตามคอยว่าตาม การเซิ้ง นั้นใช้การด้นกลอน เพราะไม่มีการเตรียมบทมาก่อน ลักษณะคำที่ผู้เซิ้ง ใช้นั้น เป็นคำที่ประทบ เสียดสีสังคม โดยเฉพาะ เสียดสี ชนชั้นปกครอง เป็นต้นฯ แต่ คนในสมัยก่อน เขาจะไม่ถือโทษโทษโกรธเคืองเมื่อถูกว่ากล่าวเสียดสี เพราะนั่นคือกระจกเงาสะท้อนภาพทางสังคมชนิดหนึ่ง  ทิดโส(ด) สารคาม เมื่อ : 31/10/2004  http://www.tidso.com/board_3/view.php?id=443
การเซิ้งบั้งไฟเป็นการบวงสรวงอ้อนวอนแด่พญาแถน เพื่อขอให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล เพื่อให้ชาวบ้านได้ทำไร่ทำนากัน บทเซิ้งที่ใช้เป็นคำกลอนภาคอีสานชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "กาพย์" ซึ่งวรรคหนึ่งประกอบขึ้นด้วยคำจำนวน 7 พยางค์ คำสุดท้ายของวรรคแรกจะสัมผัสกับคำที่ 1 หรือคำที่ 3 ของวรรคถัดไปอย่างนี้เรื่อยๆศิลปะการฟ้อนภาคอีสาน : ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ, มศว.มหาสารคาม (2532).
เซิ้ง คือการขับบทกลอนประเภทกาพย์ ด้วยจังหวะและทำนองเฉพาะตัว โดยมีผู้นำขับกาพย์เซิ้ง 1 คน ร้องนำไปทีละวรรค คนที่เหลือก็ร้องตามไปทีละวรรค
เซิ้งบั้งไฟ เป็นการฉลองบั้งไฟที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว และเสมือนเป็นการโฆษณาบั้งไฟของตนไปในตัว โดยนำบั้งไฟไปแห่ตามบ้านเรือน มีการร้องบทเซิ้งบั้งไฟไปด้วย เมื่อถึงหน้าบ้าน ก็หยุดขบวน และร้องบทเซิ้งกระเซ้าเหย้าแหย่ไปเรื่อยๆ เมื่อเห็นว่าสมควรแล้ว ก็เคลื่อนขบวนไปบ้านต่อๆ ไป   สุจิตต์ วงษ์เทศ, ประเพณีการเซิ้งบั้งไฟhttp://www.isan.clubs.chula.ac.th/tradition/index.php?transaction=bungfai11.php#menu
เซิ้งบั้งไฟ  ประเพณีอีสานมีความสำคัญต่อชีวิตของชาวอีสาน ซึ่งมีฮีต 12 คลอง 14 เป็นหลักในการดำเนินชีวิต บุญบั้งไฟหรือบุญเดือนหกเป็นประเณีที่มีส่วนในการสร้างเสริมกำลังใจแก่ชาวบ้าน และเป็นการเตรียมพร้อมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวอีสาน จุดประสงค์ใหญ่ของการมีงานบุญบั้งไฟ ก็เพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล จะได้ใช้น้ำในการทำนา เพื่อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ การจุดบั้งไฟโดยมีความเชื่อว่า การจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพระยาแถน เพื่อบอกกล่าวให้ท่านดลบันดาลให้ฝนตกลงมาสู่โลกมนุษย์ตามนิทานพื้นบ้าน เรื่อง พญาคันคาก จุดบั้งไฟเพื่อบูชาอารักมเหสักข์ หลักเมือง เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล การจุดบั้งไฟทุกครั้งโดยเฉพาะในจังหวัดยโสธรจะต้องมีการบอกกล่าว หรือคารวะเจ้าพ่อมเหสักข์หลักเมืองเสียก่อน  เพื่อเสี่ยงทายดินฟ้าอากาศและพืชพันธุ์ธัญญาหารว่าในปีนั้นๆ จะเป็นอย่างไร เช่น ถ้าบั้งไฟขึ้นสูงก็ทำนายว่าปีนี้ฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์  การเซิ้งบั้งไฟเป็นการฟ้อนประกอบการขับกาพย์ กาพย์เซิ้งบั้งไฟมีทั้งกาพย์เซิ้งเล่านิทานหรือตำนาน เช่น ตำนานผาแดงนางไอ่ ตำนานพญาคันคาก หรือเล่านิทานท้องถิ่น เช่น นิทานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ และกาพย์เซิ้งประเภทคำสอน เช่น กาพย์เซิ้งพระมุณี นอกจากนี้ยังมีกาพย์เซิ้งขอบริจาคจตุปัจจัย กาพย์เซิ้งอวยพร กาพย์เซิ้งประเภทตลกหยาบโลน เป็นต้น   http://www.isangate.com/entertain/dance_0763.html#bangfai




 สุพัตรา  หลงสอน


วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

พืชอีสาน

เรื่อง : ชุติมา  หลงสอน,นริศรา รัตทะรินทร์    ภาพ : สุพัตรา  หลงสอน

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

สินอีสาน

ล่องกินสินอีสาน

เกริ่นเรื่อง: สินของอีสานอย่างหนึ่งคือพืชผักและอาหารที่มีความเป็นเอกลักษณ์
8 ก.ค. 56 , View: 27 , Post : 0

ล่องกินสินอีสาน

....อีตู่ตำบักถั่ว ของแซบนัวซาวฝั่งของ
ป่นกบผักเสี้ยนดอง ผักก้านจองใส่นึ่งปลา
....ผักบ่อเก็บจากไฮ่ ซุปหน่อไม้ผักกาดย่า
อ่อมฮวกผักหนามป่า ผักไส่หนาแซบบ่ค่อย
....ผักหนอกกับป่นกุ้ง ลวกผักบุ้งกะถินน้อย
เขียดนาต้มส้มป่อย เห็ดปลวกน้อยหมกหอมหวน
....อีฮีนอยู่ท่งนา บัวละพาเก็บจากสวน
หมาน้อยซื่อบ่ม่วน ลาบเทาล้วนอีสานสิน
....เว้าไปกะบ่เบิด ผักมันเกิดตามน้ำดิน
หากไผได้มากิน สิหลงถิ่นอีสานเด้อ


      
  

ค.บ. ครุศาสตร์ หรือ คูโบต้า ?



นักศึกษาครูควรมีความรอบรู้ เพราะอนาคตคุณคือ..

แม่พิมพ์ของชาติ??
เกริ่นเรื่อง: ถ้าครูไม่รู้แล้วหนูจะถามใคร
20 ส.ค. 56 , View: 37 , Post : 0

อาจารย์(ครู) แปลว่า ผู้ควรปฏิบัติตาม
การเปิดหนังสือสอนเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงปฏิบัติให้นักเรียนเห็นนัก เพราะสร้างความไม่น่าเชื่อถือและขาดการเตรียมความพร้อมของผู้สอน ผู้สอนที่ดี ควรเตรียมความพร้อมเสมอ และ รอบรู้ในวิชาที่สอนและมีไหวพริบในการตอบคำถาม ทั้งนี้ต้องตระหนักเสมอว่า คำตอบเพียงคำตอบเดียว อาจทำให้คนหลายสิบหลายร้อยคนเข้าใจตามนั้นไปอีกนาน....