วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

การเซิ้งบั้งไฟ

การเซิ้งบั้งไฟ
ส่วนหนึ่งของเอกสารที่เกี่ยวข้องในงานวิจัยการเซิ้งบั้งไฟที่เคยได้รวมรวมตอนที่จะทำวิจัยเล็กในคติชนวิทยา
บุญบั้งไฟเมืองยโสธร

เซิ้งบั้งไฟ เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล จากคตินิยมและความเชื่อเรื่องตำนานพญาคันคาก (คางคก) ซึ่งเป็นทั้งวรรณกรรมมุขปาฐะและวรรณกรรมจารึก อีกเรื่องหนึ่งคือ ตำนาน "ท้าวผาแดง -- นางไอ่คำ" ซึ่งปราชญ์ชาวอีสาน ได้แต่งวรรณกรรมจากสังคมและความเป็นอยู่ของชุมชนชาวขอม
การเซิ้งบั้งไฟ ถือว่าเป็นประเพณีที่ชุมชน ชาวอีสานสืบทอดกันมาพร้อมกับประเพณีการจุดบั้งไฟ คือก่อนที่จะทำบั้งไฟเพื่อจุดถวายพญาแถนบนสวรรค์ ชาวบ้านจะรวมตัวกันออกเซิ้ง(คือ การร้องหรือจ่ายกาพย์ประกอบการฟ้อน) ไปรอบๆหมู่บ้านหรือชุมชนใกล้เคียง เพื่อบอกบุญขอรับไทยทาน เพื่อซื้อ ขี้เกีย (ดินประสิว) มาทำเป็น หมื่อ (ดินปืน) เพื่อบรรจุทำเป็นบั้งไฟ และจุดในพิธีขอฝนต่อไป ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  อดิศักดิ์ สาศิริ  http://www.isan.clubs.chula.ac.th/folkdance/index.php?transaction=roied06.php
 เซิ้ง หมายถึง การร้องรำทำเพลงแบบชาวอีสาน ซึ่งปัจจุบันเซิ้งได้เข้ามามีบทบาทแพร่หลายอยู่ในทุกภาค และเป็นที่ยอมรับกัน อย่างกว้างขวางว่าเป็นการแสดงอีกแบบหนึ่ง นิยมกันอยู่ขณะนี้ เช่น เซิ้งสวิง เซิ้งกระหยัง เซิ้งกระติ๊บ เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสุ่ม ฯลฯ  เกศสุริยง  07 มีนาคม 2554http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rouenrarai&month=03-2011&date=07&group=13&gblog=25
การเซิ้ง เป็นศิลปะทางวาทศิลป์-วรรณศิลป์อีกแขนงหนึ่ง ที่ผู้เซิงต้องมีปฏิภาณพอสมควรเพราะการเซิ้งต้องมีผู้ นำเซิ้ง(ผู้จ่ายกาพย์เซิ้ง) แล้วผู้ตามคอยว่าตาม การเซิ้ง นั้นใช้การด้นกลอน เพราะไม่มีการเตรียมบทมาก่อน ลักษณะคำที่ผู้เซิ้ง ใช้นั้น เป็นคำที่ประทบ เสียดสีสังคม โดยเฉพาะ เสียดสี ชนชั้นปกครอง เป็นต้นฯ แต่ คนในสมัยก่อน เขาจะไม่ถือโทษโทษโกรธเคืองเมื่อถูกว่ากล่าวเสียดสี เพราะนั่นคือกระจกเงาสะท้อนภาพทางสังคมชนิดหนึ่ง  ทิดโส(ด) สารคาม เมื่อ : 31/10/2004  http://www.tidso.com/board_3/view.php?id=443
การเซิ้งบั้งไฟเป็นการบวงสรวงอ้อนวอนแด่พญาแถน เพื่อขอให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล เพื่อให้ชาวบ้านได้ทำไร่ทำนากัน บทเซิ้งที่ใช้เป็นคำกลอนภาคอีสานชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "กาพย์" ซึ่งวรรคหนึ่งประกอบขึ้นด้วยคำจำนวน 7 พยางค์ คำสุดท้ายของวรรคแรกจะสัมผัสกับคำที่ 1 หรือคำที่ 3 ของวรรคถัดไปอย่างนี้เรื่อยๆศิลปะการฟ้อนภาคอีสาน : ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ, มศว.มหาสารคาม (2532).
เซิ้ง คือการขับบทกลอนประเภทกาพย์ ด้วยจังหวะและทำนองเฉพาะตัว โดยมีผู้นำขับกาพย์เซิ้ง 1 คน ร้องนำไปทีละวรรค คนที่เหลือก็ร้องตามไปทีละวรรค
เซิ้งบั้งไฟ เป็นการฉลองบั้งไฟที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว และเสมือนเป็นการโฆษณาบั้งไฟของตนไปในตัว โดยนำบั้งไฟไปแห่ตามบ้านเรือน มีการร้องบทเซิ้งบั้งไฟไปด้วย เมื่อถึงหน้าบ้าน ก็หยุดขบวน และร้องบทเซิ้งกระเซ้าเหย้าแหย่ไปเรื่อยๆ เมื่อเห็นว่าสมควรแล้ว ก็เคลื่อนขบวนไปบ้านต่อๆ ไป   สุจิตต์ วงษ์เทศ, ประเพณีการเซิ้งบั้งไฟhttp://www.isan.clubs.chula.ac.th/tradition/index.php?transaction=bungfai11.php#menu
เซิ้งบั้งไฟ  ประเพณีอีสานมีความสำคัญต่อชีวิตของชาวอีสาน ซึ่งมีฮีต 12 คลอง 14 เป็นหลักในการดำเนินชีวิต บุญบั้งไฟหรือบุญเดือนหกเป็นประเณีที่มีส่วนในการสร้างเสริมกำลังใจแก่ชาวบ้าน และเป็นการเตรียมพร้อมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวอีสาน จุดประสงค์ใหญ่ของการมีงานบุญบั้งไฟ ก็เพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล จะได้ใช้น้ำในการทำนา เพื่อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ การจุดบั้งไฟโดยมีความเชื่อว่า การจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพระยาแถน เพื่อบอกกล่าวให้ท่านดลบันดาลให้ฝนตกลงมาสู่โลกมนุษย์ตามนิทานพื้นบ้าน เรื่อง พญาคันคาก จุดบั้งไฟเพื่อบูชาอารักมเหสักข์ หลักเมือง เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล การจุดบั้งไฟทุกครั้งโดยเฉพาะในจังหวัดยโสธรจะต้องมีการบอกกล่าว หรือคารวะเจ้าพ่อมเหสักข์หลักเมืองเสียก่อน  เพื่อเสี่ยงทายดินฟ้าอากาศและพืชพันธุ์ธัญญาหารว่าในปีนั้นๆ จะเป็นอย่างไร เช่น ถ้าบั้งไฟขึ้นสูงก็ทำนายว่าปีนี้ฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์  การเซิ้งบั้งไฟเป็นการฟ้อนประกอบการขับกาพย์ กาพย์เซิ้งบั้งไฟมีทั้งกาพย์เซิ้งเล่านิทานหรือตำนาน เช่น ตำนานผาแดงนางไอ่ ตำนานพญาคันคาก หรือเล่านิทานท้องถิ่น เช่น นิทานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ และกาพย์เซิ้งประเภทคำสอน เช่น กาพย์เซิ้งพระมุณี นอกจากนี้ยังมีกาพย์เซิ้งขอบริจาคจตุปัจจัย กาพย์เซิ้งอวยพร กาพย์เซิ้งประเภทตลกหยาบโลน เป็นต้น   http://www.isangate.com/entertain/dance_0763.html#bangfai




 สุพัตรา  หลงสอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น