วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ลูกอีสาน

บทวิจารณ์เรื่องลูกอีสาน (คำพูน  บุญทวี)

นางสาวสุพัตรา   หลงสอน
บทคัดย่อ              
                                                                                                               
"ประเทศสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง” (หน้า ๕๗) เด็กสมัยนี้คงจะไม่รู้จักบทประพันธ์นี้ นี่คือเพลงชาติไทยดั้งเดิม ก่อนที่จะมาเป็นเพลงชาติไทยที่เราร้องกันทุกวันนี้ ลูกอีสาน เป็นการนำเอาเรื่องราวจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนพบเห็น ถ่ายทอดในรูปของนิยาย โดยได้เขียนไว้ ๓๖ ตอน ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๑๘๒๕๑๙  ผ่านเรื่องราวของเด็กชายคูน ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ ในถิ่นชนบทของภาคอีสาน ที่จัดได้ว่าเป็นถิ่นที่แห้งแล้งทุรกันดาร แห่งหนึ่งของไทย  ใช้ภาษาที่ตรงไปตรงมา ใช้ภาษาอีสานแสดงความรู้สึกออกมาในงานเขียนภาษากลางอย่างไม่ขัดเขิน และแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวอีสานว่าต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไร การเรียนรู้ที่จะอดทนเพื่อเอาชนะกับความยากแค้นตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น ความเอื้ออารีที่มีให้กันในหมู่คณะ ความเคารพในระบบอาวุโส ผ่านของครอบครัวเด็กชายคูน ที่ประกอบด้วยพ่อแม่ และลูก 3 คน เพื่อนบ้านในละแวกนั้น ที่มีความเป็นอยู่ไม่แตกต่างกันนัก นั่นก็คือ ความจนข้นแค้นต้องหาอาหารตามธรรมชาติทุกอย่างที่กินได้ เมื่อความแห้งแล้งอย่างรุนแรงมาเยือน การย้ายถิ่นฐานของครอบครัวเพื่อนบ้านที่เริ่มอพยพออกไปแสวงหาดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ที่แม่ของคูนมักบอกว่า “ไปอยู่บ้านดินดำน้ำชุ่ม”(หน้า๑๓)  แต่ครอบครัวของคูนที่พ่อมีความรักมั่นในถิ่นฐานบ้านเกิดบอกว่า “ถึงจะอดตายฉันก็จะขอพาลูกตายอยู่ที่นี่”(หน้า๑๕)  และกลุ่มที่สนิทชิดเชื้อกันยังคงอยู่ เพราะเขามีพ่อและแม่ที่เอาใจใส่ ขยันขันแข็งไม่ย่อท้อภัยและอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนมองเห็นความสำคัญของการศึกษา ที่ถึงแม้จะยากจนอย่างไร คูนก็ได้เข้าเรียนในระดับการศึกษาประชาบาล คูนมีเพื่อนสนิทชื่อจันดี ผู้เป็นคู่หูในการทำอะไรด้วยกันตาม ประสาเด็กผู้ชาย แล้วยังมีครอบครัวของทิดจุ่นและพี่คำกอง สองสามีภรรยา วิถีการหุงหาอาหารในสมัยนั้น เช่น การออกไปจับจิ้งหรีดของคูน การเดินทางไปหาปลา ที่ลำน้ำชี เพื่อนำปลามาทำอาหาร และเก็บถนอม เอาไว้กินนานๆ ด้วยการทำปลาร้า เป็นต้น นอกจากนั้น ยังแทรกความสนุกสนาน เพลิดเพลิน จากการทำบุญ ตามประเพณี ไว้หลายตอน ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การจ้างหมอลำหนู ซึ่งเป็นหมอลำ ประจำหมู่บ้าน ลำคู่กับหมอลำฝ่ายหญิง ที่ว่าจ้างมาจากหมู่บ้านอื่น ทั้งกลอนลำ และการแสดงออก ของหมอลำทั้งสอง สร้างความสนุกสนาน ครึกครื้น แก่ผู้ชมที่มาเที่ยวงาน อย่างมาก  ขณะเดียวกันส่วนกลางของประเทศกำลังอยู่ในช่วงแรกของรัฐไทยที่เพิ่งสถาปนากลไกการปกครองของรัฐจากส่วนกลาง  อำนาจอธิปไตยของรัฐไทย ยังตอกย้ำและขีดเขียนทาบทับ "ความเป็นไทย"ลงไปยังบนวิถีชีวิตคนพื้นถิ่นได้ไม่ชัดเท่าใดนัก 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น