หลักการวิจารณ์วรรณคดี และวรรณกรรมไทยปัจจุบัน
การวิจารณ์วรรณคดี และวรรณกรรมไทย
แนวทางการวิจารณ์วรรณคดีมีการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของบุคคลหรือเหตุการณ์เป็นอย่างไร ความสำเร็จของบุคคลในเหตุการณ์นั้น ๆ จำเป็นต้องกำหนดแนวทางในการวิจารณ์วรรณคดี (กรมการศึกษานอกโรงเรียน,
๒๕๔๖ : ๑๗๙) ซึ่งมีแนวทางวิจารณ์ดังนี้
๑.
ศึกษาโครงสร้างของเรื่องโครงสร้างที่ดีเด่นของวรรณคดีประเภทร้อยกรอง
ได้แก่ การที่กวีสามารถเลือกแนวเรื่องดำเนินไปอย่างสนุกสนาน ตั้งแต่ต้นจนจบ
เนื้อความ และสาระของเรื่องประกอบกันเป็นขั้นตอน เหมาะสมกะทัดรัด
จูงใจให้ผู้อ่านสนใจติดตามเช่น เรื่อง ขุนช้างขุนแผน เป็นเรื่องชีวิตของชายหญิงในครอบครัวที่มีฐานะต่างกัน
มีบทบาทการดำเนินชีวิตในรูปแบบ และลีลาต่าง ๆ กัน แต่
เข้ามามีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันแต่ต้นจนจบ อย่างไม่สามารถตัดให้หลุด หรือขาดไปจากเรื่องได้
ไม่ว่า ขุนไกร ขุนช้าง ขุนแผน พระพันวษา นางพิมพิลาลัย นางบัวคลี่ พระไวย ศรีมาลา
ฯลฯ ล้วนแต่มีช่วงจังหวะที่ร้อยเกี่ยวกันเป็นโครงสร้างที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม
จนมีคำกล่าวว่า เรื่องขุนช้างขุนแผนนั้น “อ่านเพลิน หรือ สนุกวางไม่ลง”
เมื่อพิจารณาเรื่องขุนช้างขุนแผน
โดยละเอียดแล้วจะเห็นได้ว่า ขุนช้างขุนแผนเป็นลักษณะนิทานที่มีส่วนคล้ายคลึงกับชีวิตจริงของผู้คนในสังคมไทยยุคหนึ่ง เช่น
การกล่าวถึงสภาพชีวิตจริงในขุนช้างขุนแผน
ให้ความสำคัญด้านวิชาความรู้มาก เช่น
นอกจากนั้นขุนช้างขุนแผนยังให้รสไพเราะของคำประพันธ์เช่น : ตอนชมธรรมชาติโดยมุ่งความไพเราะของเสียงเป็นสำคัญ
๒.
ศึกษาแก่นของเรื่อง
วรรณคดีประเภทร้อยกรองที่จะอ่านได้เพลิดเพลินนั้น จะต้องมีแก่นของเรื่องประทับใจ ซึ่งเกิดจากการที่กวีผู้สร้างสรรค์งานวรรณคดีร้อยกรองนั้น ๆ ได้ใช้ความจัดเจนหรือประสบการณ์ในชีวิต หยิบยกเรื่องราวของผู้คน เหตุการณ์ สิ่งแวดล้อม กฎเกณฑ์สังคม เช่น ศาสนา พฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ออกมาให้ร้อยรับกัน ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่รู้กันอยู่แล้วทั่วไป หรือเป็นต้นว่า เรื่อง เงาะป่า พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มุ่งแสดงเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของ “เงาะ” ชาวเขาเผ่าซาไก ในท้องถิ่นภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก และขณะเดียวกันก็เสนอบทบาทของความรักระหว่างชายหญิงที่แน่นแฟ้น ซื่อสัตย์ บริสุทธิ์ คือ ลำหับ ฮะเนา ชมพลา ซึ่งเป็นแก่นของเรื่องที่ประทับใจ ทำให้ผู้อ่านได้รับรสของเรื่องเป็นที่พอใจ ซึ่งเรื่องนี้ ทวีศักดิ์ ญาณประทีป (๒๕๓๒ : ๒๕๘-๒๖๐) ได้สรุปสาระสำคัญของเรื่อง เงาะป่า มีดังนี้
ดังนั้น
แก่นของเรื่องเงาะป่า คือ วิถีชีวิตของคะนัง
ซึ่งเป็นตัวแทนของความเป็นอยู่ของเงาะป่า
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ลักษณะคำประพันธ์ ใช้กลอนบทละคร มีกาพย์ฉบังแทรกอยู่ ๒
ตอน คือ ตอนถวายเครื่องเซ่นแก่เจ้าป่าในพิธีแต่งงานความว่า
กาพย์ฉบัง
๑๖
|
นอกจากนั้นยังมีเพลงพวงมาลัย ตอนชะเนาแต่งตัวเตรียมมางานวิวาห์ เช่น
|
๓.
ศึกษากลวิธีการดำเนินเรื่อง
วิธีการดำเนินเรื่องที่จะทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินบันเทิงใจได้แก่ การเสนอเรื่องชวนให้ติดตาม
ซึ่งอาจพิจารณาได้จาก
๑) การเปิดและปิดเรื่อง
วรรณคดีประเภทร้อยกรองจำพวกวรรณคดีบริสุทธิ์ มักจะเปิดเรื่องด้วยการสรรเสริญบ้านเมือง
การไห้วครู นครหลวง หรือราชสำนัก ส่วนการปิดเรื่องนั้น ควรมีลักษณะประทับใจ
หรือสอดคล้องกับแนวเรื่องในวรรณคดีบริสุทธิ์อาจปิดเรื่องด้วยความสมหวังของตัวละครเอก เช่น อิเหนา รามเกียรติ์ หรือปิดเรื่องด้วยความผิดหวังเศร้าสลด เช่น ลิลิตพระลอ มัทนะพาธา ในวรรณคดีประยุกต์ที่มุ่งให้ความรู้ความคิดอาจปิดเรื่องด้วยบทสรุป
หรือ ความสมบูรณ์ของเนื้อความ
ตัวอย่างการเปิดเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ ของชิต
บุรทัต
เปิดเรื่องด้วยการไหว้ครู เช่น
๒) การเลือกรูปแบบ วรรณคดีประเภทร้อยกรอง
มีการเสนอเรื่องโดยอาศัยแบบบังคับ หรือ ฉันทลักษณ์เป็นเครื่องมืออันสำคัญ ดังนั้น
กวีที่ประสบความสำเร็จในการเสนอเรื่อง ต้องรู้จักเลือกรูปแบบของร้อยกรอง ที่จะนำมาใช้ในการเสนอเรื่องแต่ละบทแต่ละตอน ให้สอดคล้องกับเรื่องราว เหตุการณ์ อารมณ์
ความรู้สึกนึกคิด บทบาทและลักษณะเด่นของตัวละคร เป็นต้นว่า
(๑) ใช้สัททัลวิกีฬิตฉันท์ ในการพรรณนาเรื่องที่แสดงลักษณะ สง่า
ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เทิดทูน
(๒) ใช้อินทรวิเชียรฉันท์ หรือ วสันตดิลกพรรณาเรื่องที่แสดงลักษณะความงาม
(๓) ใช้กลอนหก ในวรรณคดีร้อยกรองบทละคร ซึ่งสามารถจะนำไปขับร้องและแสดงท่าเคลื่อนไหวได้กะทัดรัด
เหมาะสมกับช่วงเวลาตามที่อากัปกิริยาต้องการ ไม่ต้องยืดท่าไปตามความยาวของคำในรูปแบบร้อยกรองชนิดอื่น
ๆ
๓) เอกภาพ
งานวรรณคดีร้อยกรอง โดยเฉพาะวรรณคดีบริสุทธิ์นั้น
กลวิธีการเสนอเรื่องที่จะให้ความบันเทิง
เพลิดเพลินแก่ผู้อ่านได้สมบูรณ์อีกประการหนึ่งก็คือ
ความสามารถของกวีในการสร้างเอกภาพให้แก่เรื่องที่ตนเสนอ “เอกภาพ” คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ได้แก่ การเสนอเรื่องที่สอดคล้องผูกพันร้อยรับกันทั้งเรื่อง
มีความผสมกลมกลืนไม่ขัดเขินไม่ขาดตอน
ไม่หลงทางเพริดไปจนทำให้เรื่องน่าเบื่อ
แสดงประเด็นสำคัญหรือใจความของเรื่องแต่ละใจความแต่ละตอนได้อย่างเหมาะสมกะทัดรัด
๔) ความสมจริง
การชื่นชม วรรณคดีประเภทร้อยกรองนั้น
บางกรณีอาจมีปัญหาในเรื่องของความสมจริงเข้ามาปะปนอยู่ด้วย
เพราะกวีอาจนำเรื่องที่ผู้อ่านไม่เคยทราบหรือไม่มีโอกาสสัมผัสมาสร้างเป็นเค้าโครงเรื่อง
หรือในการใช้ภาษา ก็อาจใช้กวีโวหารอุปมาอุปไมย กล่าวเกินความเป็นจริง
หรือกวีอาจใช้จินตนาการวาดภาพที่กวีประสงค์จะเสนอ
และผู้อ่านทราบแน่ว่าเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากความเป็นจริง
หรือไม่อาจแน่ใจได้ว่ามีจริง เป็นจริง เช่น เรื่องผีปีศาจ แม่มด เทวดาอุ้มสม อิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์
หรือ ความเพ้อฝัน จึงเป็นหน้าที่ของกวีผู้สร้างสรรค์ ที่จะต้องโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นจริงเห็นจัง ยกตัวอย่างบทชมธรรมชาติ
เรื่อง อิเหนา เช่น
|
สรุป การวิจารณ์วรรณคดีขั้นพื้นฐาน ควรมีความรู้
ความเข้าใจในเรื่อง โครงสร้างของเรื่อง แก่นของเรื่อง และกลวิธีการดำเนินเรื่อง ในด้านการเปิดและปิดเรื่อง
การเลือกรูปแบบ เอกภาพ และความสมจริง