ใบความรู้เรื่องการสมาสและการสนธิ
คำสนธิ
คำสนธิในภาษาไทยหมายถึงคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต มาเชื่อมต่อกัน
ทำให้เสียงพยางค์หลัง
ของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง
สนธิมี 3 ลักษณะ คือ
1. สระสนธิ
2. พยัญชนะสนธิ
3. นิคหิตสนธิ
1. สระสนธิ คือการกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น
วิทย+อาลัย =
วิทยาลัย
พุทธ+อานุภาพ =
พุทธานุภาพ
มหา+อรรณพ =
มหรรณพ
นาค+อินทร์ =
นาคินทร์
มัคค+อุเทศก์ =
มัคคุเทศก์
พุทธ+โอวาท =
พุทโธวาท
รังสี+โอภาส =
รังสิโยภาส

2. พยัญชนะสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ
ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย เช่น
รหสฺ + ฐาน =
รโหฐาน
มนสฺ + ภาว =
มโนภาว (มโนภาพ)
ทุสฺ + ชน =
ทุรชน
นิสฺ + ภย =
นิรภัย
3. นฤคหิตสนธิ ได้แก่การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิตหรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็น
นฤคหิต กับคำอื่นๆ เช่น
สํ + อุทัย =
สมุทัย
สํ + อาคม =
สมาคม
สํ + ขาร =
สังขาร
สํ + คม = สังคม
สํ + หาร =
สังหาร
สํ + วร = สังวร
หลักการสังเกต
1. คำสนธิต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น
2. เมื่อนำคำมาสนธิกันแล้ว จะกลายเป็นคำเดียว
และจะต้องแปลจากคำหลังมาคำหน้า
3. คำที่จะนำมาสนธิกัน จะต้องมีทั้งสระหน้าและสระหลัง
4. เมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ
หรือนิคหิตที่เชื่อมเสมอ
คำสมาส

ที่มีความหมายใหม่
โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่
หลักสังเกตคำสมาสในภาษาไทย
1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป
2. เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น กาฬพักตร์
ภูมิศาสตร์ ราชธรรม บุตรทาน อักษรศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ
3. พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่
ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น)
4. แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชา, เทวบัญชา แปลว่า คำสั่งของเทวดา, ราชการ แปลว่า
งานของพระเจ้าแผ่นดิน
5. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่
โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม
สมุทรปราการ)
6. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต
ก็ถือว่าเป็นคำสมาส (เช่น พระกร พระจันทร์)
7. ส่วนใหญ่จะลงท้ายว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา ศิลป์ วิทยา (เช่น
ศึกษาศาสตร์ ทุกขภาพ จิตวิทยา)
8. อ่านออกเสียงระหว่างคำ เช่น
ประวัติศาสตร์
อ่านว่า ประ – หวัด – ติ – ศาสตร์
นิจศีล
อ่านว่า นิจ – จะ – สีน
ไทยธรรม
อ่านว่า ไทย – ยะ – ทำ
อุทกศาสตร์
อ่านว่า
อุ – ทก – กะ – สาด
อรรถรส
อ่านว่า อัด – ถะ – รด
จุลสาร
อ่านว่า จุน – ละ – สาน

ข้อสังเกต
1. ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด เช่น
เทพเจ้า
(เจ้า เป็นคำไทย)
พระโทรน
(ไม้ เป็นคำไทย)
พระโทรน
(โทรน เป็นคำอังกฤษ)
บายศรี
(บาย เป็นคำเขมร)
2.คำที่ไม่สามารถแปลความจากหลังมาหน้าได้ไม่ใช่คำสมาส เช่น
ประวัติวรรณคดี
แปลว่า ประวัติของวรรณคดี
นายกสมาคม
แปลว่า นายกของสมาคม
วิพากษ์วิจารณ์
แปลว่า การวิพากษ์และการวิจารณ์
3. คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระตรงพยางค์ของคำหน้า เช่น
ปรากฏ
อ่านว่า ปรา –
กด – กาน
สุภาพบุรุษ
อ่านว่า สุ – พาบ – บุ – หรุด
สุพรรณบุรี
อ่านว่า สุ –
พรรณ – บุ – รี

ตัวอย่างคำสมาส
ธุรกิจ
กิจกรรม กรรมกร
ขัณฑสีมา คหกรรม เอกภพ กาฬทวีป
สุนทรพจน์
จีรกาล บุปผชาติ
ประถมศึกษา ราชทัณฑ์
มหาราช ฉันทลักษณ์
พุทธธรรม
วรรณคดี อิทธิพล
มาฆบูชา มัจจุราช
วิทยฐานะ วรรณกรรม
สัมมาอาชีพ
หัตถศึกษา ยุทธวิธี วาตภัย อุตสาหกรรม สังฆราช รัตติกาล
วสันตฤดู
สุขภาพ อธิการบดี ดาราศาสตร์ พุพภิกขภัย
สุคนธรส วิสาขบูชา
บุตรทาน
สมณพราหมณ์ สังฆเภท
อินทรธนู ฤทธิเดช
แพทย์ศาสตร์
ปัญญาชน
วัตถุธรรม มหานิกาย
มนุษยสัมพันธ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น