วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเขียนแสดงความคิดเห็น

การเขียนแสดงความคิดเห็น

ขั้นแรกของการเขียนแสดงความคิดเห็นคือ การเขียนเกริ่นนำ หรืออารัมภบท เท้าความถึงข้อความที่ได้อ่านหรือได้ยินได้ฟังมา เมื่อสามารถจับประเด็นของเรื่องที่อ่านที่จะแสดงความคิดเห็นได้

ขั้นที่สอง ควรเขียนให้ชัดเจนว่าเห็นด้วยหรือเห็นต่าง สนับสนุนหรือโต้แย้ง ถ้าสนับสนุนก็ต้องเสนอความคิดเห็นคล้อยตาม หรือเพิ่มเติมเพื่อขยายความคิดเห็นให้กว้างขึ้น ละเอียดขึ้นและชัดเจนขึ้น ไม่ใช่เขียนซ้ำซ้อนกับข้อความเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่ถ้าโต้แย้งก็ต้องมีการเสนอความเห็นที่ต่างออกไป โดยชี้ให้เห็นว่า เหตุผลใดจึงไม่เห็นด้วย ดังนั้นจะเห็นว่า การให้เหตุผลหรือการอ้างเหตุผลนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ในการแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่ใช้อารมณ์ความ รู้สึกแต่เพียงฝ่ายเดียว

ขั้นสุดท้าย ขั้นตอนการสรุปรวม ในประเด็นที่แสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นการย้ำให้ผู้อ่านได้เก็บไปคิดไตร่ตรองต่อไป                                                                                                                                 
การเขียนก็จะมีลักษณะเดียวกัน หากไม่ใช่การนำเสนอข่าวหรือหลักวิชาการที่แน่นอนหรือการบันทึกประจำวันแล้วนั้น ถ้าผู้เขียนต้องการเสนอความคิดเห็นส่วนตัวในเรื่องใดกับสิ่งที่เขียน ควรจะทำตามหลักการหรือขั้นตอนทั้งสามนี้ เพราะ                                                                                                       
1.  ประเด็นที่เขียนไม่กลายเป็นประเด็นหัวแตก คือ โยงไปเรื่อยจนสรุปไม่ลง
2.  ผู้อ่านได้คิดตามจากสิ่งที่ได้อ่าน และมีการวิเคราะห์ พิจารณาไตร่ตรองข้อมูลที่อ่านด้วยเหตุผล อ้างอิง  หรือความรู้ความเข้าใจ
3.  หากมีการแสดงความคิดเห็นกลับมาไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือเห็นต่าง แบบมีเหตุผล ไม่ใช่การต่อว่ากันจนผิดวัตถุประสงค์ของหัวข้อประเด็นนั้นๆ ก็ย่อมเป็นการขยายความคิดของผู้เขียนเองได้ด้วย
ดังนั้น การเสนอความคิดเห็นใดๆ ควรเป็นไปในรูปแบบของผู้มีเหตุและผล ไม่ใช่การใช้ความคึกคะนองของถ้อยคำหรือการใช้อารมณ์ส่วนตัวที่ขาดเหตุผลรองรับมาเผยแพร่จนเกินพอดี

ที่มา  http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=JACKULA&jnId=13066

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น